- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 22-28 พฤษภาคม 2566
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์เบื้องต้น ณ เดือนพฤศจิกายน 2565
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.898 ล้านไร่ ผลผลิต 27.013 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 429 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับ
ปีการผลิต 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.917 ล้านไร่ ผลผลิต 26.703 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 424 กิโลกรัม พบว่าเนื้อที่เพาะปลูก ลดลงร้อยละ 0.03 ส่วนผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.16 และร้อยละ 1.18 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากคาดว่าเกษตรกรปรับเปลี่ยนที่นาบางส่วนไปปลูกพืชอื่นที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า
เช่น มันสำปะหลัง แต่เนื้อที่ลดลงไม่มาก เพราะเกษตรกรยังคงคาดหวังว่ารัฐบาลจะมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหมือนที่ผ่านมา สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ คาดว่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว จึงส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตข้าวทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2566 คาดการณ์มีการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2566/67 จำนวน 20.989 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 33.37 ของเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.746 ล้านไร่ ผลผลิต 7.614 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.547 ล้านไร่ ผลผลิต 6.171 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 646 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.03 ร้อยละ 23.39 และร้อยละ 0.31 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีมากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักและปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยาย
เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอ
ต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2566 คาดการณ์มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2566 ปริมาณ 6.758 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 88.76 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 มาตรการสินค้าข้าว
โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565)
ผลการดำเนินงาน กระทรวงพาณิชย์ ประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง และการชดเชยส่วนต่างโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 งวดที่ 33 โดยคำนวณราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงจากราคาข้าวเปลือกเฉลี่ยย้อนหลัง 7 วันทำการ (ระหว่างวันที่ 16 – 25 พฤษภาคม 2566) เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 และระบุวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2566 ในแต่ละชนิดข้าวเปลือก ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว | ปริมาณประกัน (ตัน) |
ราคาประกัน (บาท/ตัน) |
ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง (บาท/ตัน) | ส่วนต่างราคา ที่ชดเชย (บาท/ตัน) |
1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ | 14 | 15,000 | สิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยว | |
2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ | 16 | 14,000 | 13,671.28 | 328.72 |
3) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี | 25 | 11,000 | 11,252.18 | ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงสูงกว่าราคาประกัน |
4) ข้าวเปลือกเจ้า | 30 | 10,000 | 10,216.69 | |
5) ข้าวเปลือกเหนียว | 16 | 12,000 | 12,734.33 |
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,545 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,381 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,882 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,920 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,900 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,570 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.12
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 855 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,934 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 870 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,169 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 235 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,428 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,066 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 362 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 521 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,631 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,267 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 364 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.8415 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนพฤษภาคม 2566 ผลผลิต 520.524 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 508.414 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2565/66 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.38
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนพฤษภาคม 2566
มีปริมาณผลผลิต 520.524 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 2.38 การใช้ในประเทศ 523.022 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.82 การส่งออก/นำเข้า 55.808 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.54 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 166.681 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 8.56
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เมียนมา กัมพูชา กายานา ปากีสถาน ปารากวัย ตุรกี และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ บราซิล จีน ไทย และเวียดนาม
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แองโกลา บังกลาเทศ บราซิล ไอเวอรี่โคสต์ กานา กินี มาเลเซีย เม็กซิโก โมซัมบิก เนปาล ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และเวียดนาม
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน เอธิโอเปีย อินโดนีเซีย อิรัก และฟิลิปปินส์
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย และบังกลาเทศ
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย: บริบทตลาดส่งออกข้าวที่เปลี่ยนไป
ประชาชาติธุรกิจ สัมภาษณ์ นายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ หรือในวงการเรียกว่า เสี่ยแตน ประธานบริษัท เอเซีย โกลเด้นท์ไรซ์ จำกัด ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของประเทศต่อเนื่องหลายปี โดยล่าสุดเมื่อปี 2565 ไทยส่งออกข้าวได้ 7.69 ล้านตัน บริษัท เอเซีย โกลเด้นท์ไรซ์ ส่งออกประมาณ 1.04 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่ส่งออกได้ 864,173 ตัน “สมบัติ” ได้ให้มุมมองถึงการส่งออกปี 2566 ว่าตลาดยังคงมีความต้องการซื้ออย่างต่อเนื่อง ราคาข้าวปรับสูงขึ้น
แต่มีบริบทหลายอย่างที่ได้ปรับเปลี่ยนไปแล้ว
แนวโน้มส่งออกข้าว ปี 2566
การส่งออกข้าวไทยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2566 สูงถึง 3.05 ล้านตัน คาดว่าปีนี้น่าจะส่งออกได้ 7.5 ล้านตัน กังวลเพียงว่าเอลนีโญจะเกิดในฤดูการผลิตนี้หรือไม่ แต่ข้าวที่กำลังปลูกและเก็บเกี่ยวเดือนกรกฎาคม 2566 มีผลผลิตแน่นอน ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องคาดการณ์หากเกิดเอลนีโญ เพราะในช่วงปลายปีจะมีปัญหา ถ้าไม่มีข้าวจากฤดูกาลนี้ส่งมอบ
“ตลาดส่งออกข้าว ปี 2566 จะมีปริมาณ 7.5 ล้านตันหรือไม่ ต้องประเมินสถานการณ์ผลกระทบเอลนีโญหลังจากนี้ ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงข้าวนาปีหรือไม่ หากผลผลิตลดลงจะกระทบต่อตัวเลขส่งออก แต่ในด้านราคากลับไม่ค่อยกังวล เพราะมีตลาดส่งออก” โดยตลาดที่มีคำสั่งซื้อเข้ามายังคงเป็นตลาดเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย ที่สั่งซื้อรอบแรกเมื่อเดือนเมษายน 2566 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมที่จะมีการเจรจารอบ 2 ส่วนตลาดแอฟริกา ไทยยังส่งออกได้น้อย เพราะราคาข้าวไทย
ยังต่างกับราคาส่งออกข้าวอินเดียพอสมควร ส่วนอเมริกาใต้ คำสั่งซื้อมีเข้ามาเป็นช่วงๆ สำหรับอเมริกาใต้ ผลผลิตลดลง
ทำให้ราคาสูงขึ้น ขณะที่ตลาดอิรักเท่าที่ทราบ มีบริษัทธนสรรไรซ์ และบริษัทเอเซีย โกลเด้นท์ไรซ์ ที่ส่งออกไปบ้าง แต่ไม่ได้ถี่เหมือนช่วงต้นปี ส่วนอิหร่านอยู่ระหว่างรอคำสั่งซื้อว่าจะมีเข้ามาหรือไม่
การแข่งขันกับเวียดนาม
สถานการณ์ภาพรวมการแข่งขันในตลาดส่งออกข้าวแปรเปลี่ยนไป ปัจจุบันไทยและเวียดนามไม่ได้ผลิตข้าว
ชนิดเดียวกันเพื่อแข่งขันด้านราคาอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นการแยกชนิดข้าวกันอย่างชัดเจน
“วันนี้ราคาข้าวไทยไม่ได้แพงกว่าเวียดนามเหมือนสมัยก่อน ราคาส่งออกขยับมาใกล้เคียงกัน แต่เวียดนามเปลี่ยนไปผลิตข้าวคุณภาพสูง สำหรับข้าวขาว ผลิตจำนวนจำกัดไม่แย่งตลาดกัน ปัจจุบันมีการแยกประเภทตลาด คือ
ข้าวหอมมะลิไทยตันละ 800-1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวขาวประมาณตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเดิมเวียดนามทำตลาดข้าวขาวแข่งกับไทย แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เวียดนามเปลี่ยนไปผลิตข้าวขาวพื้นนุ่มแทน ขายตันละ 500-700 ดอลลาร์สหรัฐฯ ฉะนั้น ตลาดคนละตลาดกับไทยชัดเจน ไม่ต้องสู้กับไทยแล้ว”
ไทยแข่งข้าวพื้นนุ่มได้หรือไม่
“ข้าวขาวพื้นนุ่มที่เวียดนามผลิตนั้น ไม่ใช่ไทยแข่งไม่ไหว หากจะแข่งจริงๆ ก็แข่งได้ แต่ไทยยังไม่ได้มีนโยบายเรื่องนี้ที่ชัดเจนแบบเวียดนาม ซึ่งเวียดนามโซนนิ่งพื้นที่ได้ดีมากและทำต่อเนื่อง เช่น ช่วงแรกพัฒนาข้าวขาวพื้นนุ่ม
พันธุ์ ST 18-19 ปัจจุบันพัฒนาไปสู่พันธุ์ ST 27-28 แล้ว มีการพัฒนาพันธุ์อย่างต่อเนื่องที่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และ
มีคุณสมบัติในการต้านทานโรค” สถิติทางการค้าที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าว 6 ล้านกว่าตัน แต่มีการคาดการณ์ว่า
ยังมีการส่งข้ามแดนไปจีนอีกจำนวนหนึ่งรวมๆ แล้วประมาณ 7 ล้านตัน และในจำนวนนี้เป็นข้าวขาวพื้นนุ่มประมาณร้อยละ 50-60 หรือประมาณ 3-4 ล้านตัน
“ถ้ามองย้อนกลับไป ไทยมีข้าวขาวพื้นนุ่มพันธุ์เดียวที่มั่นคงที่สุด คือ ข้าวปทุมธานี ส่วนข้าวพันธุ์อื่นๆ
ที่เคยมี อย่างเช่น ข้าวชัยนาท พิษณุโลก ข้าว กข43 หายไป ไม่มีความต่อเนื่อง ทำให้เราแข่งขันยาก และการที่เราโซนนิ่งพื้นที่ไม่ได้นั้นเป็นประเด็นใหญ่” ส่วนตลาดข้าวหอมมะลิไทยส่งออกประมาณ 1 ล้านกว่าตันนั้น ไม่ต้องห่วงเพราะ
มีตลาดประจำ ไม่ได้รับผลกระทบ แต่ถ้าต้องการจะรักษาระดับราคาส่งออกที่ตันละ 800-900 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 15,000 บาทไว้ ในช่วงต้นๆ ฤดูการเก็บเกี่ยว รัฐบาลต้องมีมาตรการเพื่อพยุงราคาบ้าง เช่น ประกันรายได้ หรือจำนำยุ้งฉาง จะทำให้ราคาข้าวไม่ลดลง
“วันนี้ข้าวหอมของไทย ถ้าถามว่าต้องกังวลไหม คำตอบคือไม่ต้องกังวลเลย เพราะ 1) พื้นที่เพาะปลูกลดลง และ 2) มีตลาดประจำประมาณ 1 ล้านตันต่อปีอยู่แล้ว และที่ผ่านมาช่วงโควิดราคาลดลง เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกไม่ดี คนรัดเข็มขัด ทัวร์นักท่องเที่ยวหายไปทำให้การบริโภคในส่วนนี้ลดลง ซึ่งปัจจุบันกลับมาสู่ภาวะปกติ มีนักท่องเที่ยว
เดินทางเข้าประเทศ และการส่งออกเป็นปกติแล้ว”
การเปลี่ยนผ่านนโยบายข้าว
ปัจจุบัน บริบทการผลิตข้าวเปลี่ยนแปลงไป ปริมาณข้าวที่ผลิตได้ในแต่ละปีไม่ได้เหลือปริมาณมาก และไทยไม่มีสต็อก พื้นที่เพาะปลูกก็เปลี่ยนไป โดยเฉพาะปี 2566 ราคาอาหารสัตว์ทั่วโลกสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่หันไปส่งเสริมการปลูกข้าวโพดในที่นาเป็นจำนวนมาก ทำให้พื้นที่เปลี่ยนไปมากพอสมควร โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่างมีการเปลี่ยนไปปลูกข้าวโพด เพราะเมื่อเทียบราคาต่อตันแล้ว ข้าวโพดตันละ 12,000 บาท ข้าวตันละ 10,000 บาท แต่ถ้าได้ผลผลิตไร่ละ 800 กิโลกรัม จะมีรายได้ 8,000 บาท ไม่ถึงหนึ่งหมื่นบาท
“ปริมาณข้าวที่ผลิตได้ในปัจจุบันไม่ได้มีจำนวนมากถ้าเทียบกับสมัยก่อน หากสังเกตจะเห็นว่าไทยปรับฐาน
การส่งออกมาอยู่ที่ปีละประมาณ 7 ล้านตันต่อเนื่องมาหลายปี แต่เมื่อปี 2565 ส่งออกได้ 7.5 ล้านตัน เพิ่มจากเดิม
5 แสนตัน ส่งผลให้ราคาข้าวปรับสูงขึ้นทันที เพราะไทยไม่มีสต็อกสะสมในประเทศ เมื่อราคาข้าวสูงขึ้น ผู้ประกอบการ
ก็ซื้อสูงและขายออกไป ประกอบกับการระบาดของโรคโควิดได้คลี่คลาย ทำให้การท่องเที่ยวกลับมาเป็นปกติ การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นได้จากราคาข้าวหอมมะลิที่ไม่ปรับลดลง”
สำหรับมาตรการรองรับในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาด อยากให้รัฐบาลช่วงรักษาการ ถ้าสามารถดำเนินการได้
ควรมีมาตรการรองรับไว้ก่อนที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาด ส่วนในระยะยาว ขอให้ดูแลเรื่องความต่อเนื่องของนโยบายพัฒนาข้าว
เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในอนาคต
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
2) อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม 2566 ปรับลดลง โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ
374-378 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 376-380 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม 2566
(ซึ่งเป็นระดับราคาที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) ท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่ลดลง ประกอบกับค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงมาระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน
ผู้ส่งออกรายหนึ่งที่เมือง Kakinada ในรัฐ Andhra Pradesh ทางตอนใต้ของประเทศ ระบุว่า การอ่อนค่าของ
เงินรูปีทำให้ผู้ส่งออกปรับลดราคาสินค้าลง ขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศลดลงเช่นกัน
สํานักข่าว Financial Express รายงานว่า รัฐบาลยังคงมาตรการห้ามส่งออกข้าวสาลี และปลายข้าว รวมถึงมาตรการภาษีส่งออกข้าวขาวร้อยละ 20 ที่บังคับใช้เมื่อเดือนกันยายน 2565 โดยคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะคงอยู่ไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2566 ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายน 2566 อินเดียได้เผชิญกับภาวะผลผลิตการเกษตรลดลงเป็นอย่างมาก
โดยผลผลิตข้าวสาลี ลดลงประมาณร้อยละ 15 ขณะที่ถั่วเหลือง ผงมัสตาร์ด และถั่วลิสง ลดลงประมาณร้อยละ 3-7
ซึ่งเป็นผลจากในช่วงฤดูร้อน หลายพื้นที่มีสภาพอากาศที่ร้อน ได้แก่ รัฐอุตตรประเทศมีอุณหภูมิสูง 44 องศาเซลเซียส รัฐปัญจาบและรัฐหรยาณา มีอุณหภูมิสูง 42 องศาเซลเซียส ส่วนกรุงนิวเดลีและอีกหลายพื้นที่ทั่วประเทศอินเดียต้องเผชิญกับอุณหภูมิสูงถึง 45 องศาเซลเซียส
กรมอุตุนิยมวิทยาของอินเดีย ประกาศเตือนภัยในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2566 จะมีคลื่นความร้อนรุนแรง
ใน 7 รัฐ ทางตะวันออกและตอนเหนือของอินเดีย สภาพอากาศที่ร้อนจัดในอินเดียส่งผลให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคลมแดดเพิ่มขึ้น มีปศุสัตว์ล้มตาย ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายอย่างรุนแรง ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ เช่น ข้าวสาลี และเกษตรกรต้องประสบกับปัญหาการขาดทุน เนื่องจากต้นทุนผลิตสูง ทั้งปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่ปรับราคาขึ้น แต่ผลผลิตกลับลดลงจากสภาพอาการร้อน ส่งผลให้เกษตรกรขาดรายได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติจากธารน้ำแข็งละลายเร็วผิดปกติจนเกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่
องค์การอาหารแห่งชาติ (The Food Corporation of India: FCI) รายงานว่า สต็อกข้าว ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 มีจำนวน 41.71 ล้านตัน (รวมข้าวสารที่คํานวณมาจากสต็อกข้าวเปลือกประมาณ 22.694 ล้านตัน) ลดลงประมาณร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับจํานวน 51.10 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2565 และลดลงประมาณร้อยละ 3.84 เมื่อเทียบกับจํานวน 43.38 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของเดือนเมษายน 2566 ทั้งนี้ ปริมาณสต็อกข้าวของอินเดียยังคงมากกว่าเกณฑ์ปกติ (buffer norms) ที่ปริมาณ 13.58 ล้านตัน จำแนกเป็น สต็อกปฏิบัติการ (operational stock) 11.58 ล้านตัน และสต็อกสํารองทางยุทธศาสตร์ (strategic reserve) 2 ล้านตัน สําหรับช่วงไตรมาสที่สองของปี 2566 (ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน)
ขณะที่สต็อกธัญพืช (ข้าว ข้าวสาลี และธัญพืชอื่นๆ) โดยรวมของอินเดีย ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 มีจำนวน 71.17 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับจํานวน 81.859 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2565 แต่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 36.50 เมื่อเทียบกับจํานวน 52.816 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของเดือนเมษายน 2566 โดยสต็อกธัญพืช
ของอินเดียยังคงมากกว่าระดับปกติ (the required buffer norms) ที่ 21.04 ล้านตัน จำแนกเป็น สต็อกสําหรับ
การบริหารจัดการ 16.04 ล้านตัน และสต็อกสํารองทางยุทธ์ศาสตร์ (strategic reserve) จํานวน 5 ล้านตัน สําหรับ
ช่วงไตรมาสที่สองของปี 2566 (ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน) สำหรับสต็อกข้าวสาลีมีประมาณ 29.028 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับจํานวน 30.346 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2565 แต่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 247.80 เมื่อเทียบกับจํานวน 8.345 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของเดือนเมษายน 2566 ทั้งนี้ สต็อกข้าวสาลีมีมากกว่าเกณฑ์ปกติ (the required buffer norms) ที่ 7.46 ล้านตัน จำแนกเป็น สต็อกสําหรับการบริหารจัดการ (operational stock) จํานวน 4.46 ล้านตัน และสต็อกสํารองทางยุทธ์ศาสตร์ (strategic reserve) จํานวน 3 ล้านตัน สําหรับช่วงไตรมาสสองของปี 2566 (ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน)
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
3) อิรัก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานว่า ในปีการตลาด 2566/67 (ตุลาคม 2566-กันยายน 2567) คาดว่า ผลผลิตข้าวจะมีปริมาณ 250,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 11,000 ตัน ในปีการตลาด 2565/66 เนื่องจากผลผลิตข้าวปี 2565/66 ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะภัยแล้ง โดยพื้นที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลงเหลือ 18,750 ไร่ จากประมาณ 600,000 ไร่ เมื่อปี 2564/65 ซึ่งจากปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทําให้รัฐบาลจํากัดพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งหมด โดยเฉพาะ
ในพื้นที่ที่ปลูกข้าวทางตอนใต้ของอิรัก เช่น จังหวัด Diwaniyah และ Najaf สำหรับความต้องการบริโภคข้าวในปีการตลาด 2566/67 คาดว่า มีประมาณ 1.80 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 1.65 ล้านตัน เมื่อปี 2565/66 เนื่องจากคาดว่าจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ส่วนการนําเข้าข้าว ในปีการตลาด 2566/67 คาดว่าจะมีปริมาณ 1.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากประมาณ
1.4 ล้านตัน เนื่องจากอิรักยังคงมีการซื้อข้าวอย่างต่อเนื่องทั้งจากประเทศสหรัฐอเมริกา และไทย ซึ่งก่อนหน้านี้อิรักซื้อข้าวจากอินเดียเป็นจํานวนมาก แต่ก็ได้ลดการซื้อข้าวจากอินเดียลง เนื่องจากอิรักได้รับความสะดวกในการทําธุรกิจกับประเทศอื่นมากขึ้น สำหรับสต็อกข้าวปลายปีของปีการตลาด 2566/67 คาดว่าจะมีประมาณ 448,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากประมาณ 198,000 ตัน ในปีการตลาด 2565/66 โดยสต็อกข้าวจะไม่เก็บไว้นานเกินกว่าสามเดือน เนื่องจากจะมีศัตรูพืชรบกวน และความไม่พร้อมของสถานที่จัดเก็บที่เหมาะสม
ทั้งนี้ โดยปกติแล้วแผนการเพาะปลูกข้าวประจำปี จะออกประกาศในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับความพร้อมของน้ำและปริมาณน้ำฝน ซึ่งกระทรวงเกษตรอิรัก ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงทรัพยากรน้ำ
(the Ministry of Water Resources) ในเรื่องแผนการปลูกพืชในช่วงฤดูร้อน (the summer crop) ซึ่งรวมทั้งข้าวด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของแผนการปลูกพืชช่วงฤดูร้อนว่าเป็นแนวทางใด ขึ้นอยู่กับว่าจะมีปริมาณ
น้ำฝนเพิ่มขึ้นหรือไม่ และประเทศตุรกีจะมีการปล่อยน้ำจากแม่น้ำไทกริส (the Tigris River) ไปยังอ่างเก็บน้ำของอิรักในช่วงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนนี้หรือไม่
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.57 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.57 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 378.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,990.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 386.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,063.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.07 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 73.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 586.00 เซนต์ (8,017.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 569.00 เซนต์ (7,675.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 342.00 บาท
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.57 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.57 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 378.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,990.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 386.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,063.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.07 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 73.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 586.00 เซนต์ (8,017.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 569.00 เซนต์ (7,675.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 342.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.400 ล้านตัน (ร้อยละ 4.28 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (รอยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังเปิดดำเนินการตามปกติ และมีเชื้อแป้งมันสำปะหลังเฉลี่ย 17-22%
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.03 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 3.12 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.88
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.12 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.33 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.86
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.42 บาท ราคาคงตัวที่กิโลกรัมละ 8.42 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.40 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.35 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.27
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 269.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,320 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่ 270 ดอลลาร์สหรัฐ (9,170 บาทต่อตัน) คิดเป็นร้อยละ 0.11
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,440 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 559 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,970 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.63
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.704 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.307 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.621 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.292 ล้านตันของเดือนเมษายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 5.12 และร้อยละ 5.14 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.81 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.42 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.25
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.65 บาท ลดลงจาก กก.ละ 30.94 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.94
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
มาเลเซียและอินโดนีเซียคาดส่งเจ้าหน้าที่เข้าพบ EU ในข้อกังวลเรื่อง กฎหมาย Deforestation ฉบับใหม่ ที่คาดว่าจะกระทบเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันรายย่อย โดยในกฎหมาย Deforestation ฉบับใหม่ นี้ มีการห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรหรือสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ว่าสินค้านั้นไม่มีการปลูกในพื้นที่ที่ทำลายป่าหลังปี 2563 ซึ่งทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียออกมาโต้ว่านโยบายนี้เป็นการเลือกปฏิบัติที่มุ่งเป้าไปที่สินค้าปาล์มน้ำมัน และอาจหยุดส่งออกสินค้าปาล์มน้ำมันมา EU แต่ EU ได้ออกมาชี้แจงว่า กฎหมายฉบับนี้ไม่มีการเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด เนื่องจากมีการปรับใช้กับทุกผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้ามา EU
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,571.26 ริงกิตมาเลเซีย (27.32 บาท/กก.) ลดลงจากตัน 3,733.91 ริงกิตมาเลเซีย (28.59 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.36
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 921.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 939.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.86
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- ข้อมูลล่าสุดในเดือนพฤษภาคมรายงานว่า พื้นที่ปลูกอ้อยประเทศอินเดียของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) คาดว่าจะลดลงเหลือ 3,500 เฮกตาร์ในปี 2566 จาก 4,500 เฮกตาร์ในปี 2565 เนื่องมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และการปิดตัวลงของโรงงานในท้องถิ่น
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,329.8 เซนต์ (17.00 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,342.8 เซนต์ (16.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.96
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 407.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.18 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 421.26 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.01
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 48.37 เซนต์ (37.09 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 47.63 เซนต์ (37.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.05
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,329.8 เซนต์ (17.00 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,342.8 เซนต์ (16.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.96
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 407.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.18 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 421.26 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.01
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 48.37 เซนต์ (37.09 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 47.63 เซนต์ (37.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.05
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,020.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,037.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 874.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 888.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,284.80 ดอลลาร์สหรัฐ (44.11 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,305.25 ดอลลาร์สหรัฐ (44.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.57 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 874.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 888.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,161.40 ดอลลาร์สหรัฐ (39.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,180.25 ดอลลาร์สหรัฐ (39.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.60 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.76 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.38
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.18 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,897 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,967 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,373 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1, 368 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 79.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.37 คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 84.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.97 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.37 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.73 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.24 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.92 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่าน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 351 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 350 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 359 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.12 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 393 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 389 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 401 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 405 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 356 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 429 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 93.99 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 93.91 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 92.99 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.73 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 75.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.16 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.28 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 79.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.37 คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 84.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.97 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.37 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.73 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.24 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.92 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่าน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 351 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 350 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 359 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.12 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 393 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 389 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 401 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 405 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 356 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 429 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 93.99 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 93.91 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 92.99 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.73 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 75.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.16 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.28 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 22 – 28 พฤษภาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การ
สะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.29 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 61.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.18 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคสูงขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.29 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.37 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 127.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 125.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.17 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.34 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.55 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 245.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 248.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 22 – 28 พฤษภาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การ
สะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.29 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 61.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.18 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคสูงขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.29 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.37 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 127.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 125.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.17 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.34 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 65.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.55 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 245.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 248.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท